เว็บบอร์ด
สิทธิหลักประกันสุขภาพและความคุ้มครอง |
|
---|---|
แสงเดือน 22 ก.พ. 2567 10:06 น. |
สอบถามเรื่องการย้ายสิทธิ์บัตรให้เด็กอายุ5-9ขวบและการเข้ารับการรักษาทางทันตกรรม |
อยากย้ายสิทธิ์ให้ลูกทั้ง2คนเนื่องจากย้ายบ้านมาแล้วโรงพยาบาลหรือคลินิกของสิทธิ์อยู่ไกลค่ะเวลาเจ็บป่วยขึ้นมาเดินทางลำบากจึงอยากย้ายสิทธิ์มาอยู่บ้านอยากทราบว่าจะต้องย้ายอย่างไร ที่ไหนและเตรียมเอกสารอะไรบ้างคะเพราะอายุไม่ถึง13ไม่สามารถย้ายสิทธิ์ผ่านแอปได้ค่ะ และเรื่องทันตกรรมเนื่องจากลูกชายฟันผุเยอะมากจะสามารถไปหาการรักษาตามสิทธิ์บัตรทองได้ที่ไหนบ้างคะน้องอายุ9ขวบบ้านอยู่เทพารักษ์จ.สมุทรปราการค่ะ |
|
|
|
Admin 22 ก.พ. 2567 11:07 |
ตอบกลับ
สวัสดีค่ะ คุณแสงเดือน
สายด่วน สปสช. 1330 แนะนำกรณีเด็กอายุต่ำกว่า 15 ปีบริบูรณ์ ใช้เอกสารสูตริบัตรในการลงทะเบียน สำหรับช่องทางการลงทะเบียน สามารถดำเนินการผ่านช่องทาง Application สปสช. เข้าระบบโดยใช้ข้อมูล เข้าใช้งานของบิดา หรือ มารดา หลังจากนั้น ให้ทำการเพิ่มข้อมูลบุตร ในเมนูตรวจสอบสิทธิบุคคลในครอบครัว หลังจากกรอกรายละเอียดของบุตรครบถ้วน ระบบจะให้สลับเข้าใช้งานชื่อบุตร หลังจากนั้นสามารถดำเนินการลงทะเบียนให้บุตรตามที่พักอาศัยได้ค่ะ ทั้งนี้หากดำเนินการไม่สำเร็จแนะนำติดต่อที่โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล(รพ.สต.)/รพ.รัฐใกล้บ้านฝ่ายงานสิทธิบัตรทองแจ้งให้เจ้าหน้าที่ดำเนินการลงทะเบียนแทน เอกสารที่ใช้เพื่อลงทะเบียนที่หน่วยบริการ ดังนี้ 1.สำเนาใบสูติบัตรหรือสำเนาบัตรประชาชนเด็ก หรือ สำเนาทะเบียนบ้านเด็ก ผู้ปกครองรับรองสำเนาถูกต้องเซ็นชื่อ-นามสกุล 2.สำเนาบัตรประชาชนผู้ปกครอง รับรองสำเนาถูกต้องเซ็นชื่อ-นามสกุล 3.เอกสารรับรองการพักอาศัยพื้นที่ต่างจังหวัด การใช้สิทธิด้านทันตกรรม อยู่ในสิทธิประโยชน์ด้านทันตกรรมของสิทธิหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สิทธิบัตรทอง) สามารถใช้สิทธิได้ โดยยื่นสูติบัตร ติดต่อรับบริการที่หน่วยบริการปฐมภูมิ/หน่วยบริการประจำที่มีสิทธิบัตรทอง การรับบริการเป็นไปตามข้อบ่งชี้ทางการแพทย์ หากเกินศักยภาพแพทย์จะพิจารณาออกหนังสือส่งตัวให้ตามความจำเป็น การใช้สิทธิจะร่วมจ่ายค่าบริการ 30 บาท ในแต่ละครั้งที่เข้ารับบริการและได้รับยา หรือหากอยู่ในกลุ่มบุคคลที่ได้รับการยกเว้นไม่ต้องร่วมจ่าย (รักษาฟรี) เช่น เด็กอายุไม่เกิน 12 ปีบริบูรณ์ ผู้มีอายุเกิน 60 ปีบริบูรณ์ (1) สิทธิประโยชน์ด้านทันตกรรมที่ได้รับความคุ้มครอง 1.1 การถอนฟัน 1.2 การอุดฟัน เช่น อุดคอฟัน เป็นต้น 1.3 ขูดหินปูน 1.4 ฟันปลอมฐานพลาสติก(หรือเรียกว่า ฟันเทียม) ทั้งแบบซี่ถอดได้และแบบทั้งปากถอดได้ 1.5 รักษาโพรงประสาทฟันน้ำนม (รากฟันน้ำนม) 1.6 ใส่เพดานเทียมในเด็กปากแหว่งเพดานโหว่ 1.7 ผ่าฟันคุด (ตามข้อบ่งชี้ทางการแพทย์) 1.8 เคลือบหลุมร่องฟัน (เด็กโตและวัยรุ่น อายุ 6-24 ปี) 1.9 การทาฟลูออไรด์วาร์นิช (เด็กอายุ 9 เดือน- 5 ปี) 1.10 การเคลือบฟลูออไรด์ (เด็กโตและวัยรุ่น อายุ 6-24 ปี) 1.11 โรคปริทันต์อักเสบ ตามดุลยพินิจของแพทย์ในการรักษา 1.12 การผ่าตัดใส่รากฟันเทียมสำหรับผู้ที่ไม่มีฟันทั้งปาก 1.13 การจัดฟัน ในผู้มีภาวะปากแหว่งเพดานโหว่ รวมถึง ผู้มีภาวะปากแหว่ง หรือ เพดานโหว่ (ตามดุลยพินิจของทันตแพทย์) 1.14 ฟันฝัง คือ ฟันที่ไม่สามารถขึ้นมาในช่องปากได้ปกติ โดยยังฝังอยู่ในกระดูกขากรรไกรทั้งซี่ ซึ่งอาจเกิดจากหลายสาเหตุ ถือว่าเป็นการรักษา สิทธิบัตรทองคุ้มครอง 1.15 การรักษารากฟันน้ำนม/แท้ 1.16 การครอบฟันน้ำนม/ครอบฟันแท้ (ตามข้อบ่งชี้ทางการแพทย์) (2) สิทธิประโยชน์ด้านทันตกรรมที่ไม่คุ้มครอง 2.1 การทำเพื่อความสวยงาม โดยไม่มีข้อบ่งชี้ทางการแพทย์ 2.2 การตรวจวินิจฉัยและการรักษาที่เกินความจำเป็น จากข้อบ่งชี้ทางการแพทย์ 2.3 การรักษาที่อยู่ระหว่างค้นคว้าทดลอง 2.4 การปลูกถ่ายอวัยวะที่สปสช.ยังไม่ได้กำหนดว่าคุ้มครอง 2.5 การบริการทางการแพทย์อื่น ตามที่คณะกรรมการ สปสช. ยังไม่ได้กำหนดว่าคุ้มครอง หากมีข้อมูลสอบถามเพิ่มเติม เกี่ยวกับสิทธิหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สิทธิบัตรทอง) สามารถติดต่อสายด่วน สปสช. 1330 กด 0 ให้บริการตลอด 24 ชั่วโมง (โทรฟรีไม่มีค่าใช้จ่ายค่ะ) |