เครือข่าย สปสช.
ตามพระราชบัญญัติหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ พ.ศ. 2545 ที่กำหนดให้ประชาชนเข้ามีส่วนร่วมในระบบหลักประกันสุขภาพ ทั้งในส่วนของการเป็นผู้มีสิทธิในการเข้ารับบริการ การบริหารจัดการ การตรวจสอบและรับรองคุณภาพบริการ ดังที่ปรากฏในมาตราต่างๆได้แก่ มาตรา 5 มาตรา 6 มาตรา 7 มาตรา 8 มาตรา 13 (4) มาตรา18 (7) (9) (10) (13) มาตรา 41 มาตรา 47 มาตรา 48 (8) มาตรา 50 (5) (7) (9) มาตรา 59 และจากการดำเนินงานตามนโยบายสร้างหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้าในช่วงเวลาที่ผ่านมา พบว่า ประชาชนยังคงมีปัญหาเกี่ยวกับความรู้ความเข้าใจในระบบหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า โดยเฉพาะเรื่องสิทธิประโยชน์ของประชาชนในการเข้ารับบริการ ยังไม่ชัดเจนเพียงพอ ทำให้ประชาชนบางส่วนไม่มีความมั่นใจและไม่สามารถเข้าถึงบริการได้ นอกจากนี้ในการดำเนินงานในระบบหลักประกันสุขภาพ นอกจากแต่ละส่วนจะดำเนินงาน ตามบทบาทหน้าที่ของตนแล้ว ยังคงต้องมีการประสานสร้างความเข้าใจและความสัมพันธ์อันดีของทุกฝ่าย ไม่ว่าจะเป็นผู้ให้บริการ ผู้รับบริการ และผู้จัดหาบริการ และยังต้องให้เกิดการมีส่วนร่วม ในการส่งเสริมและพัฒนาระบบอีกด้วย ซึ่งทั้งหมดจะนำมาสู่ความพึงพอใจระบบหลักประกันสุขภาพร่วมกัน และให้เป็นหลักประกันสุขภาพของประชาชนอย่างแท้จริง ... อ่านต่อ
เครือข่ายองค์กรวิชาชีพ
“วิชาชีพ” เป็นส่วนหนึ่งของระบบบริการสุขภาพ ซึ่งมีความหมายรวมครอบคลุมตั้งแต่แพทย์ ทันตแพทย์ เภสัชกรพยาบาล เทคนิคการแพทย์และกายภาพบำบัด ซึ่งแต่ละตำแหน่ง แต่ละหน้าที่ มีบทบาทสนับสนุนซึ่งกันและกันและผลรวมจากการปฏิบัติหน้าที่ของทุกฝ่าย คือสิ่งที่ประชาชนได้รับบริการในท้ายที่สุด บุคลากรเหล่านี้ในฐานะของ “วิชาชีพ” มีส่วนร่วมในการพัฒนา ระบบหลักประกันสุขภาพในรูปแบบ วิธีการและระดับการมีส่วนร่วมแตกต่างกันไป องค์กรวิชาชีพต่างๆ ซึ่งเป็นการรวมกลุ่มกันของนักวิชาชีพสาขาต่างๆ ทั้งที่เป็นทางการ และไม่เป็นทางการ เป็นนิติบุคคลและไม่เป็นนิติบุคคล เพื่อวัตถุประสงค์ต่างๆกัน แต่เป้าหมายที่เหมือนกัน ก็คือการพัฒนาวิชาชีพนั้นๆ ให้มีความเจริญก้าวหน้า และเป็นประโยชน์ต่อส่วนรวม ซึ่งองค์กรวิชาชีพต่างๆนั้น มีการพัฒนาและความก้าวหน้าในการดำเนินงานแตกต่างกันไปในแต่ละวิชาชีพ ในระบบหลักประกันสุขภาพนั้น องค์กรวิชาชีพต่างๆถือว่า มีบทบาทสำคัญในการพัฒนาระบบหลักประกันสุขภาพ การมีส่วนร่วมขององค์กรวิชาชีพ ทั้งในด้านการเสนอข้อคิดเห็น เพื่อการพัฒนานโยบาย และการดำเนินงานด้านต่างๆ ในระบบหลักประกันสุขภาพให้สอดคล้องกับการดำเนินงานของพื้นที่ และการร่วมมือกัน ในการบริหารจัดการรายโรค จะทำให้การบริหารจัดการ ระบบหลักประกันสุขภาพมีคุณภาพและประสิทธิภาพมากขึ้น รวมทั้งเป็นการสร้างความสัมพันธ์อันดี ระหว่างสำนักงาน หลักประกันสุขภาพแห่งชาติ และองค์กรวิชาชีพต่างๆ ในการร่วมกันพัฒนา ระบบหลักประกันสุขภาพให้เป็นที่พึ่งของประชาชนอย่างแท้จริง
เครือข่ายองค์กรวิชาชีพ ประกอบด้วย
- การส่งเสริมสนับสนุนการมีส่วนร่วมของเครือข่ายองค์กรในระบบหลักประกันสุขภาพ
เครือข่ายองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2540 มาตรา 52 กำหนดไว้ว่าคนไทยทุกคนมีสิทธิเท่าเทียมกัน ในการรับบริการสาธารณสุขที่มีมาตรฐาน โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ผู้ด้อยโอกาสมีสิทธิที่จะได้รับบริการทางการแพทย์ โดยไม่คิดมูลค่าที่จัดโดยรัฐอย่างมีคุณภาพและมีประสิทธิภาพ โดยการมีส่วนร่วมขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น และภาคเอกชน ซึ่งเป็นการสร้างหลักประกันด้านสุขภาพ แก่ประชาชนไทยทุกคน รวมทั้งในมาตรา 82 ที่กำหนดให้รัฐต้องจัดและส่งเสริมการสาธารณสุขให้ประชาชนได้รับ บริการที่ได้มาตรฐาน และมีประสิทธิภาพอย่างทั่วถึง นอกจากนี้ในพระราชบัญญัติการกระจายอำนาจสู่ท้องถิ่น พ.ศ. 2542 ยังได้กำหนดไว้ว่าองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น จะได้รับการจัดสรรงบประมาณ สำหรับการจัดระบบบริการสาธารณะเพื่อประโยชน์ของประชาชนในท้องถิ่นของตนเองซึ่งรวมทั้งด้านสุขภาพด้วย
การสร้างหลักประกันสุขภาพให้ประชาชนไทย ไม่ใช่เรื่องใหม่ที่เพิ่งจะเกิดขึ้นในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมาแท้ที่จริงแล้ว ได้เริ่มการสร้างหลักประกันสุขภาพตั้งแต่ปีพ.ศ. 2526 มีการพัฒนามาอย่างเป็นรูปธรรม ในช่วงแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 7 พ.ศ. 2535-2539 และต่อเนื่องมาจนถึงแผน พัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่ 8 พ.ศ. 2540-2544 ซึ่งเมื่อสิ้นแผนฯฉบับที่ 8 ยังมีประชาชนอีกประมาณร้อยละ 30 ของประเทศที่ยังไม่มีหลักประกันสุขภาพใดๆเมื่อยามเจ็บป่วย ในช่วงปี 2544 รัฐบาลได้ประกาศนโยบาย การให้หลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า แก่ประชาชนไทย ภายใต้โครงการ 30 บาทรักษาทุกโรค ซึ่งเปลี่ยนเป็น 30 บาทช่วยคนไทยห่างไกลโรคในปัจจุบัน เพื่อแก้ปัญหาการเข้าถึงบริการสาธารณสุขในกลุ่มผู้ด้อยโอกาส การได้รับบริการทางการแพทย์ที่ไม่เท่าเทียมกัน ในประชากรแต่ละกลุ่ม และการเพิ่มขึ้นของค่าใช้จ่ายโดยรวมของประเทศ ที่ส่วนใหญ่เกิดจากความไม่มีเอกภาพ ในการบริหารจัดการทรัพยากรสาธารณสุข ทำให้เกิดการปฏิรูประบบบริการสาธารณสุขทั้งระบบตามมา ... อ่านต่อ
เครือข่ายองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ประกอบด้วย
- อบจ.
- อบต.
- เทศบาล